บริการประชาชน

ทะเบียนทั่วไป

ทะเบียนครอบครัว

ทะเบียนพินัยกรรม

ทะเบียนชื่อบุคคล

ทะเบียนศาลเจ้า

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

ทะเบียนนิติกรรม

ทะเบียนเกาะ

ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการสมรส

การสมรส
  • ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส
  • ต้องแสดงความยินยอม และได้รับความยินยอมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
  • ต้องได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
เงื่อนไขแห่งกฎหมาย
  • ชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
  • ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตฯ
  • ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตฯ จะทำการสมรสกันไม่ได้
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
  • หญิงที่สามีตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลง ด้วยประการอื่น ต้องผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้ว
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • ใบรับรองแพทย์ ว่ามิได้มีครรภ์
    • มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
ความยินยอมทำได้ 3 วิธี
  • ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส
  • ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
  • ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย คู่สมรสจะต้องร้องขอจดทะเบียนตามแบบ คร.1 ต่อนายทะเบียน
  • ณ สำนักทะเบียน
  • นอกสำนักทะเบียน
  • ณ สถานที่ที่ รมว.มท.กำหนด (ที่ชุมชุน)
  • ณ ท้องที่ห่างไกล (ผวจ. อนุมัติ)
  • ต่อกำนันท้องที่ห่างไกล (รมว.มท.อนุมัติ ผวจ.ประกาศ)
  • การแสดงวาจา หรือกริยาต่อหน้าพยาน กรณีพิเศษที่ตกอยู่ในภัยอันตรายใกล้ความตาย (โรคภัย, ภาวะสงคราม)
  • ณ สำนักทะเบียนสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • ชายและหญิงมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย
    • ชายหรือหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสัญชาติไทย
    • คู่สมรสประสงค์จะทำการสมรสตามกฎหมายไทย
    • ต้องจดทะเบียน ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศ
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13
  • ตรวจสอบคำร้อง (คร.1) และหลักฐานบัตรฯ สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ตรวจสอบคุณสมบัติ เงื่อนไขแห่งการสมรส ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5
กรณีผู้เยาว์ต้องมีหลักฐานของผู้ให้ความยินยอม
  • ลงรายการในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)ให้ครบถ้วน (เรื่องอื่นหากประสงค์จะให้บันทึก เช่น ทรัพย์สิน)
  • ให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) พยาน ลงลายมือชื่อใน คร. 2
  • เมื่อเห็นถูกต้อง นายทะเบียนลงลายมือชื่อใน คร.2 และ คร.3
  • มอบ คร.3 ให้คู่สมรสฝ่ายละฉบับ กล่าวอำนวยพรและแนะนำวิธีปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาพอสมควร
กรณีการสมรสระหว่างผู้มีสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว โดยถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท 0310.2/ว 1170 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
  • บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย
    • ตรวจสอบคำร้องขอ
    • สอบสวนปากคำผู้ร้อง เมื่อจดทะเบียนแล้วจะไปอยู่ที่ไหน
    • ให้ตรวจสอบหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต
  • ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายไทยหรือไม่ ผู้ร้องประกอบอาชีพ และมีรายได้เท่าใด ภาวะทางการสมรสของผู้ร้อง เป็นโสด หรือสมรสแล้ว ระบุชื่อบุคคลที่ทางราชการติดต่อได้ 2 คน
การสิ้นสุดของการสมรสด้วยเหตุ 3 ประการ
  • ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
  • ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
  • ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการหย่า

การหย่ามี 2 วิธี

วิธีที่1 การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือการที่สามี ภรรยาตกลงที่จะทำการหย่าต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาการหย่า) และมีพยานลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คนและร้องขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดง นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนหย่าให้ การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 แนวทาง คือ

  • การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
  • การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

วิธีที่2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เป็นกรณีที่สามีภรรยาไม่สามารถตกลงกันได้ จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับรองบุตร

บิดา มารดาของเด็กเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะมีผลแต่วันที่สมรสบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งจะมีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

การจดทะเบียนรับรองบุตร มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน

  • บิดายื่นคำร้อง (คร.1) ต่อนายทะเบียน
  • นำมารดาเด็กและเด็กมาแสดงตนว่ายินยอมหรือไม่
  • หากมารดาเด็กและเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่มาให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน นับแต่วันแจ้ง ให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาอยู่ต่างประเทศ ขยายเวลาเป็น 180 วัน
  • กรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ อาจให้ความยินยอม ต้องมีคำพิพากษาของศาล

วิธีที่ 2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ว่าในกรณีที่มีผู้ร้องขอนายทะเบียน จะออกไป จดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนก็ได้ โดยเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 20 บาท และให้ผู้ขอจดจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควร

วิธีที่ 3 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดการจดทะเบียนวิธีนี้ไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ให้นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 1 บาท ป.พ.พ มาตรา 1559 บัญญัติว่า “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้”การพิจารณาการให้ความยินยอมของเด็ก

ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ (พจนานุกรมฯ พ.ศ.2542)
ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หมายถึง เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติสามัญ
ฉะนั้น นายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็กเกี่ยวกับรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ตามข้อเท็จจริงแต่ละราย มิต้องคำนึงถึงอายุทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นกฎหมายแม่บทที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วน พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ และพ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดเงื่อนไข และวิธีการรับเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และเป็นการป้องกัน การค้าเด็กในรูปการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม

มีวิธีปฏิบัติ 2 กรณี คือ

1.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้อง (ค.ร. 13) ต่อนายทะเบียนนายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร. 14 เมื่อผู้ร้องได้ให้ถ้อยคำว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายนายทะเบียนสำเนา ค.ร. 14 โดยใช้แบบ ค.ร. 15 ส่งนายทะเบียนกลาง

2.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นคำร้องตามแบบ บ.ธ.1 ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สำหรับในเขตกทม. ต่างจังหวัดยื่นแบบ น.ธ.1 ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ ที่ทำการพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม. 20)อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม.23 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดู และตรวจเยี่ยมผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2533 ม.19 วรรค 2)เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดูอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้อง(ค.ร. 13) ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ นายทะเบียนตรวจสอบ

คุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย

ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย (ม.1598/20)นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร.14 และสำเนาโดยใช้แบบ ค.ร.15 ส่งนายทะเบียนกลาง

กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงนามแสดงความยินยอมขณะที่ยื่นเรื่องราวตามแบบ บ.ธ.5 แล้ว บิดามารดาหรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความยินยอมและลงนามในคำร้อง (ค.ร.13) อีก (น.ส.ที่ มท.0402/ว ลว.12 ธค. 29 ข้อ2)

ผลที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรมมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครอง ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและถือว่าบุตรบุญธรรม เป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่จดทะเบียนบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม

ทำได้ 2 วิธี คือ
  • จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
  • โดยคำพิพากษาของศาล

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
  • บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
  • บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ของบุตรบุญธรรมก่อนหรือได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรมก่อน หรือได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม ม. 1598/31

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะของภริยา

เป็นผลสืบเนื่องจากกฎหมายสมัยก่อน (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) มิได้บังคับให้สามีภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน และชายอาจมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคน ต่อมามีการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัวชายหญิงจะเป็นสามีภรรยากัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน ม.๑๔๕๗ และกำหนดให้ชายมีภรรยา หรือหญิงมีสามีได้เพียงคนเดียว ม.๑๔๕๒

หลักเกณฑ์การบันทึกฐานะของภรรยา มีดังนี้
  • ต้องเป็นสามีภรรยา และสมรสก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ คือ ก่อน 1 ต.ค. 2478
  • บันทึกได้ 2 ฐานะเท่านั้นคือ เอกภริยา บันทึกได้เพียงคนเดียว และอนุภริยา บันทึกได้หลายคน
  • รับบันทึกเฉพาะสามีภรรยาที่มาร้องขอให้บันทึก ภรรยาอื่นที่ไม่ได้ร้องขอจะไม่บันทึก

ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

การใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศ ตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งได้กระทำการใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวและนำหลักฐาน มาบันทึก ให้ปรากฏในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ ตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้เป็นกิจการอันเกี่ยวด้วยฐานะแห่งครอบครัวกิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศ ตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี ที่เป็นคนสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคน สัญชาติไทยต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง ถูกต้องมาแสดงต่อนายทะเบียน

ทะเบียนพินัยกรรม

“คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย” โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ มี ๕ แบบ คือ แบบธรรมดา/ แบบเขียนเองทั้งฉบับ/ แบบเอกสารฝ่ายเมือง/ แบบเอกสารลับ/ และแบบทำด้วยวาจา ในส่วนของปกครอง ทำ 3 แบบ คือ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ และแบบทำด้วยวาจา

ขั้นตอนการปฏิบัติ

ยื่นคำร้อง ยื่นคำร้อง พ.ก. 1
ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
  • พยานอย่างน้อย 2 คน
ตรวจสอบคุณสมบัติ
  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ในกรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่
  • แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย

ทะเบียนพินัยกรรมเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่สำคัญดังนี้
ป.พ.พ. บรรพ ๖ มรดก,กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา ๑๖๗๒ แห่ง ป.พ.พ. และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๓ระเบียบการทำพินัยกรรม การตัดทายาทโดยธรรมให้รับมรดก การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกและการสละมรดก พ.ศ. ๒๔๘๙

ทะเบียนชื่อบุคคล - การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง

หลักเกณฑ์
  • ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือเชื้อพระวงศ์
  • ต้องไม่เป็นคำหยาบคาย
  • ต้องไม่มีความหมายไปในทางทุจริต
  • สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้
เอกสาร / หลักฐาน
  • ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
ขั้นตอนดำเนินการ
  • ยื่นคำขอทะเบียนชื่อบุคคลต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอ ตรวจสอบทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยน
  • สำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง ให้เป็นหลักฐาน
  • สำหรับบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
  • ผเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน
  • หลังจากได้รับหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือไปขอแก้ไขรายชื่อในทะเบียนบ้าน บัตรประจำประชาชน และเอกสารสำคัญต่างที่ยังใช้ชื่อเดิมอยู่ เช่น บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ
  • ในกรณีผู้ขอเปลี่ยนชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มารดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่มีชื่อเด็กอยู่
  • แต่ถ้าให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน บิดาต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับมารดาไปยืนยันด้วย

ทะเบียนชื่อบุคคล - การจดทะเบียนชื่อสกุล

หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ
  • ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
  • ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
  • ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  • มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
  • ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
  • ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล
เอกสารที่ใช้
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคน ต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
  • นายทะเบียนท้องที่ส่งเรื่องราวการขอจดทะเบียนชื่อสกุลไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง
  • นายทะเบียนกลางพิจารณาแล้วแจ้งผลกลับไปจังหวัด เพื่อแจ้งนายทะเบียนท้องที่แจ้งให้ผู้ขอทราบ
  • กรณีที่นายทะเบียนกลางอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
  • เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

ทะเบียนชื่อบุคคล - การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารที่ใช้สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2)
เอกสารที่ใช้สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
  • นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาต และออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่ เจ้าของชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล
  • ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
  • นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
  • ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

ทะเบียนศาลเจ้า

ศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐ หรือที่ดินซึ่งเอกชนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของศาลเจ้า ศาลเจ้านั้นจะอยู่ในการกำกับ ดูแลโดยราชการและมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากราชการ เป็นผู้บริหารกิจการศาลเจ้า

การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้ว หรือ ที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนต้องปฏิบัติผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์ อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้

หลักฐาน
  • คำร้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้อุทิศที่ดิน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • รายละเอียดที่ดินซึ่งจะอุทิศให้พร้อมโฉนดที่ดิน หรือหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้
  • รับเรื่องราวของผู้ประสงค์อุทิศที่ดิน
  • ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารทั้งหมด
  • สอบสวนผู้ประสงค์อุทิศที่ดินตามแบบ ปค.14 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะอุทิศให้และเจตนารมย์ ของผู้อุทิศให้
  • เมื่อเห็นว่าถูกต้องรวบรวมหลักฐานและเอกสารทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุมัติและรับมอบที่ดิน
  • แจ้งผู้มอบที่ดินทราบเมื่อจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุมัติและรับมอบการอุทิศที่ดินนั้นแล้ว โดยให้ ออกโฉนดที่ดินไว้ในนาม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ศาลเจ้า .................

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

สัตว์พาหนะ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำ หรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ ตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะพุทธศักราช ๒๔๘๒
สัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ ต้องทำ ตั๋วรูปพรรณ
  • ช้าง มีอายุย่างเข้าปีที่แปด
  • ม้า โคตัวผู้ กระบือ ล่อ ลา มีอายุย่างเข้าปีที่หก
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่ใช้ขับขี่ ลากเข็น หรือใช้งานแล้ว
  • ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
  • โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่ในกรณีรับมรดก

สัตว์ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องทำตั๋วรูปพรรณข้างต้น เจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้ เมื่อเจ้าของสัตว์ มีสัตว์เกิดใหม่หรือนำมาจากต่างท้องที่ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือได้เป็นเจ้าของสัตว์ โดยประการอื่น ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลงบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) ไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อสัตว์อยู่ในเกณฑ์ทำตั๋วรูปพรรณ ก็ใช้บัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) เป็นหลักฐาน ประกอบในการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อไป

พื้นฐานทางกฎหมายและระเบียบ
  • พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • ระเบียบการสัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลว.๖ มค. ๒๔๘๓ เรื่องแต่งตั้งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอเป็นนายทะเบียนตาม ม.๔ แห่ง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒)
การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
  • เจ้าของสัตว์ หรือตัวแทน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน หรือพยานในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านไปด้วยไม่ได้นำสัตว์นั้นไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องที่
  • นายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้อง และเจ้าของหรือตัวแทนได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การย้ายสัตว์พาหนะ
  • เจ้าของ หรือตัวแทน นำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ที่ย้ายไป
  • ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม แล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
  • การย้ายสัตว์พาหนะไปยังท้องที่ใหม่เพื่อการเช่า เช่าชื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราวได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การจดทะเบียนโอนสัตว์พาหนะ
  • ผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทน นำสัตว์พาหนะและตั๋วรูปพรรณไปยังนายทะเบียน
  • นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้อง
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • นายทะเบียนจดทะเบียน และสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอนกรรมสิทธิ์ให้
  • หากเป็นสัตว์ต่างท้องที่ ให้นายทะเบียนรับสัตว์นั้นขึ้นทะเบียนก่อน

ทะเบียนนิติกรรม

“การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่การทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังหาริมทรัพย์บางประเภท คือ

  • เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6–20 ตัน
  • เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5–20 ตัน
  • แพและสัตว์พาหนะ

ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบดำเนินการโดยเฉพาะ ได้แก่ การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ และจำนอง ให้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (อำเภอ)

กฎหมายและระเบียบ
  • ป.พ.พ. บรรพ ๓ และ บรรพ ๔
  • พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
  • พ.ร.บ. เรือสยาม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ม.๑๒๒)
  • พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำสยาม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๘๑
  • พ.ร.บ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอำเภอ พ.ศ. ๒๕๐๓
  • ระเบียบการทำและการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
  • ตาม พ.ร.บ.เรือสยาม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้กำหนดขนาดของเรือที่ต้องจดทะเบียน และทำนิติกรรมต่อกรมเจ้าท่าไว้สูงกว่า ม.๔๕๖ แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งยังคงต้องจดทะเบียน
การทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ
  • เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 20 ตัน
  • เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 50 ตัน
  • เรือกลขนาดตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 10 ตัน รวมทั้งเรือกลบางชนิด แม้จะมีขนาดเกินกว่า 10 ตัน แต่มิได้มีไว้
    • เพื่อการค้าในน่านน้ำหรือการประมง
    • การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน และให้
    • เรือและแพ ให้จดข้อความในสัญญาลงทะเบียนนิติกรรม แล้วบันทึกในต้นขั้วสัญญา และตั๋วสัญญา (แบบ ปค.34) แล้วให้นายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
การจำนอง
เรือและสัตว์พาหนะ หากจดทะเบียนไว้แล้วก็จำนองได้โดยทำตามแบบ ปค.34 และทะเบียนสัตว์พาหนะ

ทะเบียนเกาะ

“ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด และมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป...”

กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสภาพเกาะมีลักษณะ 3 ประการ

  • เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
  • ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  • เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไปตาม ม.๑๓๐๙ แห่ง ป.พ.พ. บรรพ ๔ ได้บัญญัติไว้ว่า “เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของ ประเทศก็ดี และท้องน้ำที่ตื้นเขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” ผลที่ตามมา คือ
    • จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
    • จะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ และ
    • จะยึดทรัพย์ของแผ่นดินไม่ได้
กฎหมายและระเบียบ
  • ป.พ.พ. บรรพ ๑ ทรัพย์สิน
  • ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ (ม.๑ และ ม.๘)
  • พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.๑๒๒)
  • พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๗๘ (ม.๔ และ ม.๕)
  • คำสั่งให้ทบวงการเมืองอื่นมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  • หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๗๓๐๗/๒๔๙๘ ลว. ๒๗ ส.ค. ๒๔๙๘ เรื่องการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน

พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528หลักการของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินกิจการ สุสานและฌาปนสถานบางแห่งมีลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจ ของประเทศ การสาธารณสุขหรืออานามัยของประชาชนเพิ่มขึ้นจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2481 และประกาศใช้ฉบับนี้มีผลบังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2528 มีทั้งสิ้น 30 มาตรา
แบ่งสุสานและฌาปนสถานแบ่งเป็น 2 ประเภท
  • สุสานและฌาปนสถานาสาธารณะ เป็นสถานที่สำหรับเก็บ ฝัง เผา สำหรับประชาชนทั่วไป
  • สุสานและฌาปนสถานเอกชน เป็นสถานที่ เก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับตระกูลหรือครอบครัวทั้ง 2 ประเภทต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งหมายถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผอ.เขต หรือผู้ช่วย ผอ.เขต ซึ่งผู้ว่าฯมอบหมาย สำหรับในเขต กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือ ปลัดฯประจำกิ่งอ. ซึ่ง ผวจ.มอบหมายสำหรับเขตจังหวัด ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล นายกเทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ซึ่งนายกฯ มอบหมายในเขตเทศบาล ปลัดเมืองพัทยา หรือพนักงานเมืองพัทยา ซึ่งปลัดเมืองพัทยามอบหมายในเขตเมืองพัทยา
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
  • กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การขออนุญาต การขอต่ออายุในอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
    • จัดตั้ง ไม่เกิน 1,000.00 บาท
    • ดำเนินการ ไม่เกิน 500 บาท
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
  • อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
  • ไม่มีความประพฤติบกพร่องทางศีลธรรม
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
  • ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนคนไร้สามารถ
  • ไม่เคยจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
แบบพิมพ์ มี 7 แบบ
  • สฌ 1 คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสุสาน และฌปนสถาน
  • สฌ 2 ใบอนุญาติจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับบุคคล)
  • สฌ 2/1 ใบอนุญาตจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับนิติบุคคล)
  • สฌ 3 คำขอรับใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 4 ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน
  • สฌ 6 คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
การล้างป่าช้า มีผู้ประสงค์จะทำการล้างป่าช้า ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 4 พ.ศ. 2545) ข้อ 69 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใด ให้แจ้งของอนุญาตต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น โดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้วบันทึกการอนุญาตได้”และเมื่อจะทำการเผาก็ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุสานฯ
บทลงโทษ
1.ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดจัดตั้งสุสานฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) มาตรา 7 วรรคหนึ่ง(เมื่อได้จัดตั้งสุสานฯ แล้วห้ามมิให้ดำเนินการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือ มาตรา 10 (ห้ามมิให้ผู้ใด เก็บ ฝัง หรือเผาศพในสถานที่อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือผู้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสุสานฯ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษไม่เกิน สองพันบาท

2.ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เข้าไปในบริเวณสุสานฯ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

กลับไปหน้าก่อน
จัดระเบียบสังคม
ดาวน์โหลด

นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ

นายอำเภอบางละมุง
webinmotion.nl
Created by
Webinmotion
สงวนลิขสิทธิ์ © 2013 ที่ว่าการอำเภอบางละมุง