บริการประชาชน

การขออนุญาตตั้ง
สถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้สถานบริการ หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า ดังต่อไปนี้
  • สถานเต้นรำรำวงหรือรองเง็ง เป็นปกติธุระที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ
  • สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่น จำหน่ายและบริการ โดยผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า
  • สถานที่อาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
  • สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง และยินยอม หรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
    • มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
    • มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม
    • มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา
  • สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ

หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการต้อง
  • ไม่อยู่ใกล้ชิดวัดสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาลสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว
  • ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
  • มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
  • กรณีผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานสูติบัตร ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง
  • กรณีที่ต้องใช้ผู้รับรองให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย
  • กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าวให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดามาแสดงด้วย
กรณีเกินกำหนด
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
  • บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
  • ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย

ผู้มีอำนาจอนุญาตหรือรับแจ้งการตั้งสถานบริการ

ผู้มีอำนาจอนุญาตหรือรับแจ้งการตั้งสถานบริการ (พนักงานเจ้าหน้าที่) จังหวัดต่าง ๆ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1)(2)(3) ภายใน 90 วัน , รับทราบการตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4), พิจารณาต่ออายุใบอนุญาต พิจารณาการย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสถานบริการ สั่งพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอน , สั่งผู้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4) หยุดกิจการครั้งละไม่เกิน 30 < วัน

หลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับสถานบริการที่ควรทราบ

การขอเปลี่ยนผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการต้อง
  • การขอเปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาตถือว่าเป็นการโอนใบอนุญาตกฎหมายมิได้กำหนดให้โอนแก่กันได้
  • กรณีเป็นนิติบุคคลขอเปลี่ยนผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
การย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมสถานบริการ
  • ห้ามย้ายสถานบริการ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟไหม้ และต้องย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
  • ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุผลจำเป็น
  • ต่อเติมให้กว้างขวางได้ แต่สำหรับกรณีเพิ่มห้องเพื่อปรับปรุงกิจการให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงาน เจ้าหน้าที่
การโอนกิจการ
  • ถือเป็นการอนุญาตให้ มีนโยบายไม่อนุญาต เว้นแต่โอนโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ซึ่งศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต
  • กรณีที่มีการนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลและคู่กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณา และรวบรวมหลักฐานพร้อมเหตุผลเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาต เป็นราย ๆ ไป

อัตราค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตเกี่ยวกับสถานบริการ

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเก็บเป็นรายปีดังนี้

1. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา3 (1)
(ก) พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร ฉบับละ 10,000 บาท
(ข) พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 30,000 บาท
(ค) พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 50,000 บาท
2. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(2)
(ก) พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร ฉบับละ 30,000 บาท
(ข) พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 40,000 บาท
(ค) พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 50,000 บาท
3. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(3)
(ก) ห้องบริการไม่เกินสามสิบห้อง ฉบับละ 30,000 บาท
(ข) ห้องบริการเกินสามสิบห้อง
แต่ไม่เกินห้าสิบห้อง ฉบับละ 40,000 บาท
(ค) ห้องบริการเกินห้าสิบห้อง ฉบับละ 50,000 บาท
4. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 3(4)
(ก) พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร ฉบับละ 10,000 บาท
(ข) พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 30,000 บาท
(ค) พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 50,000 บาท
5. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(5)
(ก) พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร ฉบับละ 10,000 บาท
(ข) พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 30,000 บาท
(ค) พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร ฉบับละ 50,000 บาท
6.ใบแทนใบอนุญาตตั้งสถานบริการ ฉบับละ 1,000 บาท
7. การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละ หนึ่งในห้าของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งสถานบริการแต่ละประเภท

ผู้มีอำนาจตรวจตราควบคุมดูแลสถานบริการ

นายอำเภอ และตำรวจตั้งแต่ชั้นสารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่ในการตรวจตรา ควบคุมดูแลให้สถานบริการดำเนินกิจการเป็นไปโดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี กรณีที่มีคำสั่งปิดสถานบริการให้นายอำเภอ แจ้งคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตทราบเป็นหนังสือ และปิดสำเนาหนังสือคำสั่งไว้ที่หน้าสถานบริการ

กลับไปหน้าก่อน
จัดระเบียบสังคม
ดาวน์โหลด

นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ

นายอำเภอบางละมุง
webinmotion.nl
Created by
Webinmotion
สงวนลิขสิทธิ์ © 2013 ที่ว่าการอำเภอบางละมุง